วันอังคารที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

ชุดที่ 6



วิชา การออกแบบและการจัดการเรียนรู้   ประจำภาคเรียนที่ 2 / 2560
      โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิจิตรา ธงพานิช                                                
           คำชี้แจง : ให้นักศึกษาอ่านคำชี้แจงและปฏิบัติตามดังต่อไปนี้
1. มีทั้งหมด 10 ข้อ แบบอัตนัยและแบบปรนัย ให้นักศึกษาทำทุกข้อ
2. เขียนคำตอบโดยให้ใช้ปากกาสีน้ำเงิน สีดำ หรือสีแดงเท่านั้น
 คำชี้แจง ข้อ 1-3 อ่านข้อความต่อไปนี้ จากนั้นให้ทำเครื่องหมาย P หน้าข้อความที่เป็นจริง และทำเครื่องหมาย χ หน้าข้อความ

   ที่ไม่เป็นจริง
………P…… 1. รูปแบบ (Model) หมายถึง รูปธรรมของความคิดที่เป็นนามธรรม ซึ่งแสดงออกมาในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง เช่น
     แผนผัง ไดอะแกรม หรือแผนภาพ เพื่อให้ตนเองและบุคคลอื่นสามารถเข้าใจได้ชัดเจนขึ้น
………P…… 2. รูปแบบเชิงสาเหตุ (Causal Model) เป็นรูปแบบด้านศึกษาศาสตร์ โดยเป็นความคิดที่แสดงออกผ่านทางสูตร
     คณิตศาสตร์ ซึ่งส่วนมากจะเกิดขึ้นหลังจากได้รูปเชิงภาษาแล้ว
 ………P…… 3. รูปแบบการเรียนการสอน หมายถึง สภาพหรือลักษณะของการจัดการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบระเบียบตามหลัก
     ปรัชญา ทฤษฏี หลักแนวคิดและความเชื่อต่างๆ โดยมีการจัดกระบวนการเรียนการสอนโดยอาศัยวิธีสอนและเทคนิค
     การสอนต่างๆ เข้าไปและได้รับการพิสูจน์และทดสอบแล้วว่ามีประสิทธิภาพ

คำชี้แจง ข้อ 4 จงบอกความแตกต่างของรูปแบบการเรียนการสอนมโนทัศน์กับรูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้ผังความคิด  ผังกราฟิก) โดยเขียนคำตอบลงในตารางที่กำหนดให้ 
รูปแบบการเรียนการสอนมโนทัศน์
รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้ผังกราฟิก

เนื่องจากผู้เรียนเกิดการเรียนรู้มโนทัศน์ จากการคิด วิเคราะห์และตัวอย่างที่หลากหลาย

ดังนั้นผลที่ผู้เรียนจะได้รับโดยตรงคือ จะเกิดความเข้าใจในมโนทัศน์นั้น และได้เรียนรู้ทักษะการสร้างมโนทัศน์

ซึ่งสามารถนำไปใช้ในการทำความเข้าใจมโนทัศน์อื่น ๆต่อไปได้ รวมทั้งช่วยพัฒนาทักษะการใช้เหตุผล

โดยการอุปนัย (inductive reasoning) อีกด้วย







เพื่อช่วยให้ผู้เรียนได้เชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความรู้เดิมและสร้างความหมายและความ
เข้าใจในเนื้อหาสาระหรือข้อมูลที่เรียนรู้ และจัดระเบียบข้อมูลที่เรียนรู้ด้วยผังกราฟิก ซึ่งจะช่วยให้ง่ายแก่การ
จดจำ


คำชี้แจง : ข้อ 5 ให้นักเรียน ทำเครื่องหมาย หน้าคำตอบที่ถูกต้องที่สุด 

5. ข้อใดกล่าว ไม่ถูกต้อง เกี่ยวกับรูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้บทบาทสมมุติ (Role-Playing Model)

ก. ผู้พัฒนารูปแบบนี้คือแซฟเทลและแซฟเทล (Shaftel and Shaftel, 1967)
ข. การสอนในรูปแบบนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยให้ผู้เรียนสามารถปฏิบัติหรือทำงานที่ต้องอาศัยความเคลื่อนไหวหรือ
   ประสานงานของกล้ามเนื้อทั้งหลายได้อย่างดี มีความถูกต้อง และมีความชำนาญ 
ค. กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบนี้แบ่งออกเป็น 9 ขั้น ได้แก่ การนำเสนอสถานการณ์ปัญหาและบทบาทสมมติ การ
   เลือกผู้แสดง การจัดฉาก การเตรียมผู้สังเกตการณ์ และการแสดง เป็นต้น
ง. การเรียนในรูปแบบนี้จะทำให้ผู้เรียนจะเกิดความเข้าใจที่ลึกซึ้งเกี่ยวกับความรู้สึก ค่านิยม คุณธรรม จริยธรรมของผู้อื่นได้

จ. ผู้แสดงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการที่จะทำให้ผู้ชมเข้าใจเรื่องราว/เหตุการณ์ ซึ่งผู้แสดงจะต้องแสดงตามบทบาทให้ดีที่สุด


คำชี้แจง ข้อ 6-10 จงตอบคำถามต่อไปนี้ และเขียนคำตอบลงในกระดาษคำตอบ 

6. จงพิจารณาตัวเลือก A-C ต่อไปนี้ และเลือกมา 1 ตัวเลือก แล้วตอบคำถามตามประเด็นดังนี้
               A. รูปแบบการสอนตามแนวคิดการพัฒนาทักษะปฏิบัติของซิมพ์ซัน
               B. รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของแฮร์โรว์
               C. รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์
ทฤษฏี/หลักการของรูปแบบ
ทักษะเป็นเรื่องที่มีความเกี่ยวข้องกับพัฒนาการ
ทางกายของผู้เรียน เป็นความสามารถในการประสานการท างานของกล้ามเนื้อหรือร่างกาย ในการ
ท างานที่มีความซับซ้อน และต้องอาศัยความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อหลาย ๆ ส่วน การท างาน
ดังกล่าวเกิดขึ้นได้จากการสั่งงานของสมอง ซึ่งต้องมีความสัมพันธ์กับความรู้สึกที่เกิดขึ้น ทักษะปฏิบัติ
นี้สามารถพัฒนาได้ด้วยการฝึกฝน ซึ่งหากได้รับการฝึกฝนที่ดีแล้ว จะเกิดความถูกต้อง ความ
คล่องแคล่ว ความเชี่ยวชาญและความคงทน ผลของพฤติกรรมหรือการกระทำสามารถ
สังเกตได้จากความรวดเร็ว ความแม่นยำ ความเร็วหรือความราบรื่นในการ  จัดการ

วัตถุประสงค์ของรูปแบบ
เพื่อช่วยให้ผู้เรียนสามารถปฏิบัติหรือทำงานที่ต้องอาศัยการเคลื่อนไหวหรือการ
ประสานงานของกล้ามเนื้อทั้งหลายได้อย่างดี มีความถูกต้องและมีความชำนาญ
กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบ (ยกตัวอย่างมา 1 ขั้น)
ขั้นที่ 1 ขั้นการรับรู้ เป็นขั้นการให้ผู้เรียนรับรู้ในสิ่งที่จะทำโดยการให้ผู้เรียนสังเกตการทำงานนั้นอย่างตั้งใจ
ผลที่ผู้เรียนจะได้รับจากการเรียนตามรูปแบบ
ผู้เรียนจะสามารถกระทำหรือแสดงออกอย่างคล่องแคล่ว ชำนาญ ในสิ่งที่ต้องการให้ผู้เรียนทำได้ นอกจากนั้นยังช่วยพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ และความอดทนให้เกิดขึ้นในตัวผู้เรียนด้วย

7. จงบอกความแตกต่างของรูปแบบการเรียนการสอนกระบวนการสืบสอบและแสวงหาความรู้เป็นกลุ่ม กับ รูปแบบการสอนกระบวนการคิดสร้างสรรค์ โดยเขียนคำตอบลงในตารางที่กำหนดให้ โดยจะนำเสนอประเด็นอะไรก็ได้ไม่จำกัด (สามารถดูประเด็นตัวอย่างในการเขียนในข้อ 6)
รูปแบบการเรียนการสอนกระบวนการสืบสอบ
และแสวงหาความรู้เป็นกลุ่ม
รูปแบบการสอน
กระบวนการคิดสร้างสรรค์


รูปแบบนี้มุ่งพัฒนาทักษะในการสืบสอบเพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้ความเข้าใจ

โดยอาศัยกลุ่มซึ่งเป็นเครื่องมือทางสังคมช่วยกระตุ้นความสนใจหรือความอยากรู้และช่วยดำเนินงานการแสวงหาความรู้หรือคำตอบที่ต้องการ








ผู้เรียนจะเกิดความคิดใหม่ ๆ และสามารถนำความคิดใหม่ ๆ นั้นไปใช้ในงานของตน ทา ให้งานของตนมีความแปลกใหม่ น่าสนใจมากขึ้น นอกจากนั้น ผู้เรียนอาจเกิดความ ตระหนักในคุณค่าของการคิด และความคิดของผู้อื่นอีกด้วย 

8. จงพิจารณาตัวเลือก A-D ต่อไปนี้ และเลือกมา 1 ตัวเลือก แล้วตอบคำถามตามประเด็นดังนี้
     A. รูปแบบการเรียนการสอนทางตรง
     B. รูปแบบการเรียนการสอนโดยการสร้างเรื่อง
     C. รูปแบบการเรียนการสอนตามวัฏจักรการเรียนรู้ 4 MAT
     D. รูปแบบการเรียนการสอนของการเรียนรู้แบบร่วมมือ
ทฤษฏี/หลักการของรูปแบบ
แม็ค คาร์ธี (Mc Carthy, อ้างถึงใน ศักดิ์ชัย นิรัญทวี และไพเราะ พุ่มมั่น, 2542: 7-11) พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนนี้ขึ้นจากแนวคิดของโคล์ป (Kolb) ซึ่งอธิบายว่า การเรียนรู้เกิดขึ้น จากความสัมพันธ์ของ มิติ คือการรับรู้ และกระบวนการจัดกระท าข้อมูล การรับรู้ของบุคคลมี ช่องทาง คือผ่านทางประสบการณ์ที่เป็นรูปธรรม และผ่านทางความคิดรวบยอดที่เป็นนามธรรม ส่วน การจัดกระท ากับข้อมูลที่รับรู้นั้น มี ลักษณะเช่นเดียวกัน คือการลงมือทดลองปฏิบัติ และการ สังเกตโดยใช้ความคิดอย่างไตร่ตรอง
วัตถุประสงค์ของรูปแบบ
เพื่อช่วยให้ผู้เรียนมีโอกาสได้ใช้สมองทุกส่วน ทั้งซีกซ้ายและขวา ในการสร้างความรู้ ความเข้าใจให้แก่ตนเอง
กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบ (ยกตัวอย่างมา 1 ขั้น)
ขั้นที่ การสร้างประสบการณ์ ผู้สอนเริ่มต้นจากการจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียนเห็นคุณค่า ของเรื่องที่เรียนด้วยตนเอง ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนตอบได้ว่า ทำไม ตนจึงต้องเรียนรู้เรื่องนี้
ผลที่ผู้เรียนจะได้รับจากการเรียนตามรูปแบบ
ผู้เรียนจะสามารถสร้างความรู้ด้วยตนเองในเรื่องที่เรียน จะเกิดความรู้ความเข้าใจและ น าความรู้ความเข้าใจนั้นไปใช้ได้ และสามารถสร้างผลงานที่เป็นความคิดสร้างสรรค์ของตนเอง รวมทั้ง ได้พัฒนาทักษะกระบวนการต่าง ๆ อีกจ านวนมาก

9. เราต่างทราบกันดีว่า รูปแบบการเรียนการสอนของการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Co-operative Learning) นั้นมีกระบวนการสอนหลายรูปแบบที่มีวิธีการสอนและมีกระบวนการที่มีความแตกต่างกันไป คือ
JGSAW                STAD             TAI                TGT               LT                 GI                   CIRC
Complex Instruction

ท่านคิดว่า กระบวนการต่างๆ ในรูปแบบนี้มีประโยชน์ต่อผู้เรียนอย่างไร
ทำให้ผู้เรียนได้ความรู้จากการลงมือทำทั้งเเบบเดี่ยวเเละเเบบเป็นกลุ่มทำให้ได้ความรู้เเละเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
และมีประโยชน์ต่อผู้สอนอย่างไร
ทำให้ผู้สอนมีการเรียนการสอนที่ได้ประสิทธิภาพเเละทำให้ผู้สอนมีพัฒนาการในการสอน
 10. ท่านคิดว่า การศึกษาเกี่ยวกับรูปแบบการเรียนการสอนแบบสากล มีประโยชน์ต่อบุคคลใดมากที่สุด เพราะเหตุใด จงอธิบาย
ผู้เรียน เพราะการเรียนเเบบสากลรูปแบบการเรียนการสอนที่เป็นสากล
        รูปแบบการเรียนการสอนที่เป็นสากลซึ่ง รองศาสตราจารย์ ดร. ทิศนา แขมมณี ได้คัดเลือกมานำเสนอล้วนได้รับการพิสูจน์ทดสอบประสิทธิภาพมาแล้วและมีผู้นิยมนำไปใช้ในการเรียนการสอนโดยทั่วไป แต่เนื่องจากรูปแบบการเรียนการสอนดังกล่าวมีจำนวนมาก เพื่อความสะดวกในการศึกษาและการนำไปใช้
        จึงได้จัดหมวดหมู่ของรูปแบบเหล่านั้นตามลักษณะของวัตถุประสงค์เฉพาะหรือเจตนารมณ์ของรูปแบบ ซึ่งสามารถจัดกลุ่มได้เป็น 5 หมวดดังนี้

1. รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการพัฒนาด้านพุทธิพิสัย(cognitive domain) 
        รูปแบบการเรียนการสอนในหมวดนี้ เป็นรูปแบบการเรียนการสอนที่มุ่งช่วยให้ผู้เรียนเกิดความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาสาระต่าง ๆ ซึ่งเนื้อหาสาระนั้นอาจอยู่ในรูปของข้อมูล ข้อเท็จจริง มโนทัศน์ หรือความคิดรวบยอด 

2. รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการพัฒนาด้านจิตพิสัย(affective domain)
        รูปแบบการเรียนการสอนในหมวดนี้เป็นรูปแบบที่มุ่งช่วยพัฒนาผู้เรียนให้เกิดความรู้สึก เจตคติ ค่านิยม คุณธรรม และจริยธรรมที่พึงประสงค์ ซึ่งเป็นเรื่องที่ยากแก่การพัฒนาหรือปลูกฝัง การจัดการเรียนการสอนตามรูปแบบการสอนที่เพียงให้เกิดความรู้ความเข้าใจ มักไม่เพียงพอต่อการให้ผู้เรียนเกิดเจตคติที่ดีได้ จำเป็นต้องอาศัยหลักการและวิธีการอื่นๆ เพิ่มเติม 
3. รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการพัฒนาด้านทักษะพิสัย(psycho-motor domain)
        รูปแบบการเรียนการสอนในหมวดนี้ เป็นรูปแบบที่มุ่งช่วยพัฒนาความสามารถของผู้เรียนในด้านการปฏิบัติ การกระทำ หรือการแสดงออกต่าง ๆ ซึ่งจำเป็นต้องใช้หลักการ วิธีการ ที่แตกต่างไปจากการพัฒนาทางด้านจิตพิสัยหรือพุทธิพิสัย 
4. รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการพัฒนาทักษะกระบวนการ(process skill)
        ทักษะกระบวนการ เป็นทักษะที่เกี่ยวข้องกับวิธีดำเนินการต่าง ๆ ซึ่งอาจเป็น
กระบวนการทางสติปัญญา เช่น กระบวนการสืบสอบแสวงหาความรู้ หรือกระบวนการคิดต่าง ๆ อาทิ การคิดวิเคราะห์ การอุปนัย การนิรนัย การใช้เหตุผล การสืบสอบ การคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เป็นต้น หรืออาจเป็นกระบวนการทางสังคม เช่น กระบวนการทำงานร่วมกัน เป็นต้น ปัจจุบันการศึกษาให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มาก เพราะถือเป็นเครื่องมือสำคัญในการดำรงชีวิต 

5. รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการบูรณาการ(integration)
รูปแบบการเรียนการสอนในหมวดนี้ เป็นรูปแบบที่พยายามพัฒนาการเรียนรู้
ด้านต่าง ๆ ของผู้เรียนไปพร้อม ๆ กัน โดยใช้การบูรณาการทั้งทางด้านเนื้อหาสาระและวิธีการ รูปแบบในลักษณะนี้กำลังได้รับความนิยมอย่างมาก เพราะมีความสอดคล้องกับหลักทฤษฎีทางการศึกษาที่มุ่งเน้นการพัฒนารอบด้าน หรือการพัฒนาเป็นองค์รวม

เพราะเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น