วันพฤหัสบดีที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2561
ผังความคิด (A Mind Map)
ผังความคิด (A Mind Map)
เป็น
การแสดงความสัมพันธ์ของสาระหรือความคิดต่างๆให้เห็นในภาพรวม โดยใช้เส้น คํา
ระยะห่างจากจุดศูนย์กลาง สี เครื่องหมาย รูปทรงเรขาคณิต และภาพ
แสดงความหมาย และความเชื่อมโยงของความคิดหรือสาระนั้นๆ
มีขั้นตอนหลักๆ ในการทําดังนี้
1.1 เขียนความคิดรวบยอดหลักไว้ตรงกลาง แล้วแตกสาขาออกไปเป็นความคิดรวบยอดย่อยๆ
1.2 เขียน
คําที่เป็นตัวแทนความหมายของความคิดนั้นๆลงไป และใช้รูปทรงเรขาคณิตแสดง
ระดับของคํา คําใดอยู่ในขอบเขตหรือระดับเดียวกัน
ใช้รูปทรงเรขาคณิตเดียวกันล้อมกรอบคํานั้น
1.3 ลากเส้นเชื่อมโยงความคิดเพื่อแสดงความสัมพันธ์ของความคิดต่างๆ อาจเป็นเส้นตรง โค้ง ลูกศร เส้นประ
1.4 ใช้สัญลักษณ์ต่างๆ เป็นตัวแทนความหมายของ ความคิดและความรู้สึกต่างๆ
1.5 สร้างผังความคิดให้สมบูรณ์ ตามความเข้าใจของตน
ผังมโนทัศน์ (A Concept map)
ผังมโนทัศน์ (A Concept map)
เป็นการแสดงมโนทัศน์หรือความคิดรวบยอดใหญ่ไว้ตรงกลาง และแสดงความสัมพันธ์ ระหว่างมโนทัศน์ใหญ่และย่อยตามลําดับขั้น ด้วยเส้นเชื่อมโยง
ผังก้างปลา
ผังก้างปลา (A fish borne Map)
เป็นผังที่แสดงสาเหตุของปัญหาซึ่งมีความซับซ้อน ช่วยทําให้เห็นสาเหตุหลักและสาเหตุ ย่อยที่ชัดเจน
รูปแบบการเรียนการสอนมโนทัศน์ (Concept Attainment Model)
ก. ทฤษฎี/หลักการ/แนวคิดของรูปแบบ
จอยส์และวีล(Joyce & Weil, 1996: 161-178) พัฒนารูปแบบนี้ขึ้นโดยใช้แนวคิดของ
บรุนเนอร์ กู๊ดนาว และออสติน (Bruner, Goodnow, และ Austin) การ
เรียนรู้มโนทัศน์ของสิ่งใดสิ่งหนึ่งนั้น
สามารถทำได้โดยการค้นหาคุณสมบัติเฉพาะที่สำคัญของสิ่งนั้น
เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการจำแนกสิ่งที่ใช่และไม่ใช่สิ่งนั้นออกจากกันได้
ข. วัตถุประสงค์ของรูปแบบ
เพื่อ
ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้มโนทัศน์ของเนื้อหาสาระต่าง ๆ อย่างเข้าใจ
และสามารถให้คำนิยามของมโนทัศน์นั้นด้วยตนเอง
ค. กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบ
ขั้น ที่ 1 ผู้สอนเตรียมข้อมูลสำหรับให้ผู้เรียนฝึกหัดจำแนก
ผู้สอนเตรียมข้อมูล 2 ชุด ชุดหนึ่งเป็นตัวอย่างของมโนทัศน์ที่ต้องการสอน
อีกชุดหนึ่งไม่ใช่ตัวอย่างของมโนทัศน์ที่ต้องการสอน
ในการเลือกตัวอย่างข้อมูล 2 ชุดข้างต้น ผู้สอนจะต้องเลือกหาตัวอย่างที่มีจำนวน
มากพอที่จะครอบคลุมลักษณะของมโนทัศน์ที่ต้องการนั้น
ถ้ามโนทัศน์ที่ต้องการสอนเป็นเรื่องยากและซับซ้อนหรือเป็นนามธรรม อาจใช้
วิธีการยกเป็นตัวอย่างเรื่องสั้น ๆ ที่ผู้สอนแต่งขึ้นเองนำเสนอแก่ผู้เรียน
ผู้สอนเตรียมสื่อการสอนที่เหมาะสมจะใช้นำเสนอตัวอย่างมโนทัศน์เพื่อแสดง
ให้เห็นลักษณะต่าง ๆ ของมโนทัศน์ที่ต้องการสอนอย่างชัดเจน
ขั้นที่ 2 ผู้สอนอธิบายกติกาในการเรียนให้ผู้เรียนรู้และเข้าใจตรงกัน
ผู้
สอนชี้แจงวิธีการเรียนรู้ให้ผู้เรียนเข้าใจก่อนเริ่มกิจกรรมโดยอาจสาธิตวิธี
การและให้ผู้เรียนลองทำตามที่ผู้สอนบอกจนกระทั่งผู้เรียนเกิดความเข้าใจพอ
สมควร
ขั้นที่ 3 ผู้สอนเสนอข้อมูลตัวอย่างของมโนทัศน์ที่ต้องการสอน และข้อมูลที่ไม่ใช่ตัวอย่างของมโนทัศน์ที่ต้องการสอน
การนำเสนอข้อมูลตัวอย่างนี้ทำได้หลายแบบ แต่ละแบบมีจุดเด่น- จุดด้อย ดังต่อไปนี้
1) นำเสนอข้อมูลที่เป็นตัวอย่างของสิ่งที่จะสอนทีละข้อมูลจนหมดทั้งชุด โดย
บอก
ให้ผู้เรียนรู้ว่าเป็นตัวอย่างของสิ่งที่จะสอนแล้วตามด้วยข้อมูลที่ไม่ใช่
ตัวอย่างของสิ่งที่จะสอนทีละข้อมูลจนครบหมดทั้งชุดเช่นกัน
โดยบอกให้ผู้เรียนรู้ว่าข้อมูลชุดหลังนี้ไม่ใช่สิ่งที่จะสอน
ผู้เรียนจะต้องสังเกตตัวอย่างทั้ง2 ชุด และคิดหาคุณสมบัติร่วมและคุณสมบัติที่แตกต่างกัน เทคนิควิธีนี้สามารถช่วยให้ผู้เรียนสร้างมโนทัศน์ได้เร็วแต่ใช้กระบวนการคิดน้อย
2) เสนอข้อมูลที่ใช่และไม่ใช่ตัวอย่างของสิ่งที่จะสอนสลับกันไปจนครบ
เทคนิควิธีนี้ช่วยสร้างมโนทัศน์ได้ช้ากว่าเทคนิคแรก แต่ได้ใช้กระบวนการคิดมากกว่า
3) เสนอข้อมูลที่ใช่และไม่ใช่ตัวอย่างของสิ่งที่จะสอนอย่างละ 1 ข้อมูล
แล้วเสนอข้อมูลที่เหลือทั้งหมดทีละข้อมูลโดยให้ผู้เรียนตอบว่าข้อมูลแต่ละ
ข้อมูลที่เหลือนั้นใช่หรือไม่ใช่ตัวอย่างที่จะสอน เมื่อผู้เรียนตอบ
ผู้สอนจะเฉลยว่าถูกหรือผิด
วิธีนี้ผู้เรียนจะได้ใช้กระบวนการคิดในการทดสอบสมมติฐานของตนไปทีละขั้นตอน.
4) เสนอข้อมูลที่ใช่และไม่ใช่ตัวอย่างสิ่งที่จะสอนอย่างละ 1 ข้อมูล
แล้วให้ผู้เรียนช่วยกันยกตัวอย่างข้อมูลที่ผู้เรียนคิดว่าใช่ตัวอย่างของ
สิ่งที่จะสอน โดยผู้สอนจะเป็นผู้ตอบว่าใช่หรือไม่ใช่
วิธีนี้ผู้เรียนจะมีโอกาสคิดมากขึ้นอีก
ขั้นที่ 4 ให้ผู้เรียนบอกคุณสมบัติเฉพาะของสิ่งที่ต้องการสอน
จาก
กิจกรรมที่ผ่านมาในขั้นต้น ๆ
ผู้เรียนจะต้องพยามหาคุณสมบัติเฉพาะของตัวอย่างที่ใช่และไม่ใช่สิ่งที่ผู้
เรียนต้องการสอนและทดสอบคำตอบของตน
หากคำตอบของตนผิดผู้เรียนก็จะต้องหาคำตอบใหม่ซึ่งก็หมายความว่าต้องเปลี่ยน
สมมติฐานที่เป็นฐานของคำตอบเดิม ด้วยวิธีนี้ผู้เรียนจะค่อย ๆ
สร้างความคิดรวบยอดของสิ่งนั้นขึ้นมา
ซึ่งก็จะมาจากคุณสมบัติเฉพาะของสิ่งนั้นนั่นเอง
ขั้นที่ 5 ให้ผู้เรียนสรุปและให้คำจำกัดความของสิ่งที่ต้องการสอน
เมื่อ
ผู้เรียนได้รายการของคุณสมบัติเฉพาะของสิ่งที่ต้องการสอนแล้ว
ผู้สอนให้ผู้เรียนช่วยกันเรียบเรียงให้เป็นคำนิยามหรือคำจำกัดความ
ขั้นที่ 6 ผู้สอนและผู้เรียนอภิปรายร่วมกันถึงวิธีการที่ผู้เรียนใช้ในการหาคำตอบ
ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนการคิดของตัวเอง
ง. ผลที่ผู้เรียนจะได้รับจากการเรียนตามรูปแบบ
เนื่อง
จากผู้เรียนเกิดการเรียนรู้มโนทัศน์ จากการคิด
วิเคราะห์และตัวอย่างที่หลากหลาย ดังนั้นผลที่ผู้เรียนจะได้รับโดยตรงคือ
จะเกิดความเข้าใจในมโนทัศน์นั้น
และได้เรียนรู้ทักษะการสร้างมโนทัศน์ซึ่งสามารถนำไปใช้ในการทำความเข้าใจ
มโนทัศน์อื่น ๆต่อไปได้ รวมทั้งช่วยพัฒนาทักษะการใช้เหตุผลโดยการอุปนัย(inductive reasoning) อีกด้วย
รูปแบบการเรียนการสอนเน้นความจำ (Memory Model)
รูปแบบการเรียนการสอนเน้นความจำ (Memory Model)
ก. ทฤษฎี/หลักการ/แนวคิดของรูปแบบ
รูปแบบนี้พัฒนาขึ้นโดยอาศัยหลัก 6 ประการเกี่ยวกับ
1) การตระหนักรู้(awareness) ซึ่งกล่าวว่า การที่บุคคลจะจดจำสิ่งใดได้ดีนั้น
จะต้องเริ่มจากการรับรู้สิ่งนั้น หรือการสังเกตสิ่งนั้นอย่างตั้งใจ
2) การเชื่อมโยง(association) กับสิ่งที่รู้แล้วหรือจำได้
3) ระบบการเชื่อมโยง(link system) คือระบบในการเชื่อมความคิดหลายความคิด
เข้าด้วยกันในลักษณะที่ความคิดหนึ่งจะไปกระตุ้นให้สามารถจำอีกความคิดหนึ่งได้
4) การเชื่อมโยงที่น่าขบขัน(ridiculous association) การเชื่อมโยงที่จะช่วยให้
บุคคล
จดจำได้ดีนั้น มักจะเป็นสิ่งที่แปลกไปจากปกติธรรมดา
การเชื่อมโยงในลักษณะที่แปลก เป็นไปไม่ได้ ชวนให้ขบขัน
มักจะประทับในความทรงจำของบุคคลเป็นเวลานาน
5) ระบบการใช้คำทดแทน
6) การใช้คำสำคัญ(key word) ได้แก่ การใช้คำ อักษร หรือพยางค์เพียงตัวเดียว เพื่อ
ช่วยกระตุ้นให้จำสิ่งอื่น ๆ ที่เกี่ยวกันได้
ข. วัตถุประสงค์ของรูปแบบ
รูปแบบนี้มีวัตถุประสงค์ช่วยให้ผู้เรียนจดจำเนื้อหาสาระที่เรียนรู้ได้ดีและได้นาน และได้
เรียนรู้กลวิธีการจำ ซึ่งสามารถนำไปใช้ในการเรียนรู้สาระอื่น ๆ ได้อีก
ค. กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบ
ในการเรียนการสอนเนื้อหาสาระใด ๆ ผู้สอนสามารถช่วยให้ผู้เรียนจดจำเนื้อหาสาระนั้น
ได้ดีและได้นานโดยดำเนินการดังนี้
ขั้นที่ 1 การสังเกตหรือศึกษาสาระอย่างตั้งใจ
ผู้
สอนช่วยให้ผู้เรียนตระหนักรู้ในสาระที่เรียน โดยการใช้เทคนิคต่าง ๆ เช่น
ให้อ่านเอกสารแล้วขีดเส้นใต้คำ/ประเด็นที่สำคัญ
ให้ตั้งคำถามจากเรื่องที่อ่าน ให้หาคำตอบของคำถามต่าง ๆ
เป็นต้น
ขั้นที่ 2 การสร้างความเชื่อมโยง
เมื่อผู้เรียนได้ศึกษาสาระที่ต้องการเรียนรู้แล้ว ให้ผู้เรียนเชื่อมโยงเนื้อหาส่วนต่าง ๆ
ที่
ต้องการจดจำกับสิ่งที่ตนคุ้นเคย เช่น กับคำ ภาพ หรือความคิดต่าง ๆ
(ตัวอย่างเช่น เด็กจำไม่ได้ว่าค่ายบางระจันอยู่จังหวัดอะไร
จึงโยงความคิดว่า ชาวบางระจันเป็นคนกล้าหาญ สัตว์ที่ถือว่าเก่งกล้าคือสิงโต
บางระจันจึงอยู่ที่จังหวัดสิงห์บุรี) หรือให้หาหรือคิดคำสำคัญ ที่สามารถกระตุ้นความจำในข้อมูลอื่น ๆ
ที่เกี่ยวข้องกัน เช่น สูตร 4 M หรือทดแทนคำที่ไม่คุ้นด้วย คำ ภาพ หรือความหมายอื่น หรือการใช้การเชื่อมโยงความคิดเข้าด้วยกัน
ขั้นที่ 3 การใช้จินตนาการ
เพื่อ
ให้จดจำสาระได้ดีขึ้น ให้ผู้เรียนใช้เทคนิคการเชื่อมโยงสาระต่าง ๆ
ให้เห็นเป็นภาพที่น่าขบขัน เกินความเป็นจริง
ขั้นที่ 4 การฝึกใช้เทคนิคต่าง ๆ ที่ทำไว้ข้างต้นในการทบทวนความรู้และเนื้อหาสาระต่างๆ จนกระทั่งจดจำได้
ง. ผลที่ผู้เรียนจะได้รับจากการเรียนตามรูปแบบ
การเรียนโดยใช้เทคนิคช่วยความจำต่าง ๆ ของรูปแบบ นอกจากจะช่วยให้ผู้เรียนสามารถ
จด
จำเนื้อหาสาระต่างๆ ที่เรียนได้ดีและได้นานแล้ว
ยังช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้กลวิธีการจำ
ซึ่งสามารถนำไปใช้ในการเรียนรู้สาระอื่น ๆ ได้อีกมาก
รูปแบบการเรียนการสอนโดยการนำเสนอมโนทัศน์กว้างล่วงหน้า (Advance Organizer Model)
รูปแบบการเรียนการสอนโดยการนำเสนอมโนทัศน์กว้างล่วงหน้า (Advance Organizer Model)
ก. ทฤษฎี/หลักการ/แนวคิดของรูปแบบ
การสำเสนอมโนทัศน์กว้างล่วงหน้า(Advanced Organizer) เพื่อการเรียนรู้อย่างมี
ความหมาย (meaningful verbal learning) การ
เรียนรู้จะมีความหมายเมื่อสิ่งที่เรียนรู้สามารถเชื่อมโยงกับความรู้เดิมของ
ผู้เรียน ดังนั้นในการสอนสิ่งใหม่ สาระความรู้ใหม่
ผู้สอนควรวิเคราะห์หาความคิดรวบยอดย่อย ๆ ของสาระที่จะนำเสนอ
จัดทำผังโครงสร้างของความคิดรวบยอดเหล่านั้นแล้ววิเคราะห์หามโนทัศน์หรือ
ความคิดรวบยอดที่กว้างครอบคลุมความคิดรวบยอดย่อย ๆ ที่จะสอน
หากครูนำเสนอมโนทัศน์ที่กว้างดังกล่าวแก่ผู้เรียนก่อนการสอนเนื้อหาสาระใหม่
ขณะที่ผู้เรียนกำลังเรียนรู้สาระใหม่ ผู้เรียนจะสามารถ
นำสาระใหม่นั้นไปเกาะเกี่ยวเชื่อมโยงกับมโนทัศน์กว้างที่ให้ไว้ล่วงหน้าแล้ว
ทำให้การเรียนรู้นั้นมีความหมายต่อผู้เรียน
ข. วัตถุประสงค์ของรูปแบบ
เพื่อช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เนื้อหาสาระ ข้อมูลต่าง ๆ อย่างมีความหมาย
ค. กระบวนการเรียนการสอน
ขั้นที่ 1 การ
จัดเตรียมมโนทัศน์กว้าง
โดยการวิเคราะห์หามโนทัศน์ที่กว้างและครอบคลุมเนื้อหาสาระใหม่ทั้งหมด
มโนทัศน์ที่กว้างนี้ ไม่ใช่สิ่งเดียวกับมโนทัศน์ใหม่ที่จะสอน
แต่จะเป็นมโนทัศน์ในระดับที่เหนือขึ้นไปหรือสูงกว่า
ซึ่งจะมีลักษณะเป็นนามธรรมมากกว่า
ปกติมักจะเป็นมโนทัศน์ของวิชานั้นหรือสายวิชานั้น
ควรนำเสนอมโนทัศน์กว้างนี้ล่วงหน้าก่อนการสอน จะเป็นเสมือนการ”preview” บทเรียน ซึ่งจะเป็นคนละอย่างกับการ”over view” หรือ
การให้ดูภาพรวมของสิ่งที่จะสอน การนำเสนอภาพรวมของสิ่งที่จะสอน
การทบทวนความรู้เดิม
การซักถามความรู้และประสบการณ์ของผู้เรียนเกี่ยวกับเรื่องที่จะสอน
การบอกวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอน เหล่านี้ ไม่นับว่าเป็น “advance organizer” ซึ่งจะต้องมีลักษณะที่กว้างครอบคลุม และมีความเป็นนามธรรมอยู่ในระดับสูงกว่าสิ่งที่จะสอน
ขั้นที่ 2 การนำเสนอมโนทัศน์กว้าง
1) ผู้สอนชี้แจงวัตถุประสงค์ของบทเรียน
2) ผู้สอนนำเสนอมโนทัศน์กว้างด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่นการบรรยายสั้น ๆ แสดง
แผนผังมโนทัศน์ ยกตัวอย่าง หรือใช้การเปรียบเทียบ เป็นต้น
ขั้นที่ 3 การนำเสนอเนื้อหาสาระใหม่ของบทเรียน
ผู้
สอนนำเสนอเนื้อหาสาระที่ต้องการให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยวิธีการต่าง ๆ
ตามปกติแต่ในการนำเสนอ
ผู้สอนควรกล่าวเชื่อมโยงหรือกระตุ้นให้ผู้เรียนเชื่อมโยงกับมโนทัศน์ที่ให้
ไว้ล่วงหน้าเป็นระยะ ๆ
ขั้นที่ 4 การจัดโครงสร้างความรู้
ผู้
สอนส่งเสริมกระบวนการจัดโครงสร้าง ความรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการต่าง ๆ
เช่น ส่งเสริมการผสมผสานความรู้ กระตุ้นให้ผู้เรียนตื่นตัวในการเรียนรู้
และทำความกระจ่างในสิ่งที่เรียนรู้ โดยใช้วิธีการต่าง ๆ เช่น
1) อธิบายภาพรวมของเรื่องที่เรียน
2) สรุปลักษณะสำคัญของเรื่อง
3) บอกหรือเขียนคำนิยามที่กะทัดรัดชัดเจน
4) บอกความแตกต่างของสาระในแง่มุมต่าง ๆ
5) อธิบายว่าเนื้อหาสาระที่เรียนสนับสนุนหรือส่งเสริมมโนทัศน์กว้างที่ให้ไว้
ล่วงหน้าอย่างไร
6) อธิบายความเชื่อมโยงระหว่างเนื้อหาสาระใหม่กับมโนทัศน์กว้างที่ให้ไว้
ล่วงหน้า
7) ยกตัวอย่างเพิ่มเติมจากสิ่งที่เรียน
8) อธิบายแก่นสำคัญของสาระที่เรียนโดยใช้คำพูดของตัวเอง
9) วิเคราะห์สาระในแง่มุมต่าง ๆ
ง. ผลที่ผู้เรียนจะได้รับจากการเรียนรู้ตามรูปแบบ
ผลโดยตรงที่ผู้เรียนจะได้รับก็คือ เกิดการเรียนรู้ในเนื้อหาสาระและข้อมูลของบทเรียน
อย่าง
มีความหมาย เกิดความคิดรวบยอดในสิ่งที่เรียน
และสามารถจัดโครงสร้างความรู้ของตนเองได้
นอกจากนั้นยังได้พัฒนาทักษะและอุปนิสัยในการคิดและเพิ่มพูนความใฝ่รู้
การเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค TAI (Team Assisted Individualization)
ขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
1. จัดนักเรียนเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 4-5 คน ประกอบด้วยนักเรียนเก่ง ปานกลาง และอ่อน
2. ทดสอบจัดระดับ (Placement Test) ตามคะแนนที่ได้
3. นักเรียนศึกษาเอกสารแนะนำบทเรียน ทำกิจกรรมจากสื่อที่ได้รับ เสร็จแล้วส่งให้เพื่อนในกลุ่มตรวจ โดยมีข้อแนะนำดังนี้
3.1 ตอบถูกหมดทุกข้อ ให้เรียนต่อ
3.2 ตอบผิดบ้างให้ซักถามเพื่อนในกลุ่มเพื่อช่วยเหลือก่อนที่จะถามครู
4.เมื่อนักเรียนทำแบบฝึกหัดทักษะในสื่อที่ได้เรียนจบแล้ว
4.1 ทดสอบย่อยฉบับ A เป็นรายบุคคล ส่งให้เพื่อนในกลุ่มตรวจ ถ้าได้คะแนน 75% ขึ้นไป ถือว่าผ่าน
4.2 ถ้าได้คะแนนไม่ถึง 75% ให้ไปเรียนจากสื่อที่ศึกษาไปแล้วอีกครั้ง แล้วทดสอบฉบับ B เป็นรายบุคคล
5.ทดสอบนักเรียนด้วยแบบทดสอบประจำหน่วย (Unit Test)
ถ้าไม่ผ่าน 75% ผู้สอนจะพิจารณาแก้ไขปัญหาอีกครั้ง
6.ครูคิดคะแนนเฉลี่ยของแต่ละกลุ่ม แล้วจัดอันดับดังนี้
6.1 กลุ่มที่ผ่านเกณฑ์สูง ได้เป็น Super Team (ยอดเยี่ยม)
6.2 กลุ่มที่ผ่านเกณฑ์ปานกลาง ได้เป็น Great Team (ดีมาก)
6.3 กลุ่มที่ผ่านเกณฑ์ต่ำ ได้เป็น Good Team (ดี)
เทคนิค TGT (Team - Games – Tournament)
เทคนิคการจัดกิจกรรม TGT
เป็นเทคนิครูปแบบหนึ่งในการสอนแบบร่วมมือและมีลักษณะของกิจกรรมคล้ายกันกับ
STAD แต่เพิ่มเกมและการแข่งขันเข้ามาด้วย
เหมาะสำหรับการจัดการเรียนการสอนในจุดประสงค์ที่มีคำตอบถูกต้องเพียงคำตอบ
เดียว
องค์ประกอบ 4 ประการ ของ TGT
1. การสอน เป็นการนำเสนอความคิดรวบยอดใหม่หรือบทเรียนใหม่ อาจเป็นการสอนตรงหรือจัดในรูปแบบของการอภิปราย หรือกลุ่มศึกษา
2. การจัดทีม เป็นขั้นตอนการจัดกลุ่ม หรือจัดทีมของนักเรียน โดยจัดให้คละกันทั้งเพศ และความสามารถและทีมจะต้องช่วยกันและกัน ในการเตรียมความพร้อมและความเข้มแข็งให้สมาชิกทุกคน
3. การแข่งขัน การแข่งขันมักจัดในช่วงท้ายสัปดาห์หรือท้ายบทเรียน ซึ่งจะใช้คำถามเกี่ยวกับเนื้อหาที่เรียนมาในข้อ 1 และผ่านการเตรียมความพร้อมของทีมมาแล้วการจัดโต๊ะแข่งขันจะมีหลายโต๊ะ แต่ละโต๊ะจะมีตัวแทนของกลุ่ม/ทีม แต่ละทีมมาร่วมแข่งขัน ทุกโต๊ะการแข่งขันควรเริ่มดำเนินการเพื่อนำไปเทียบหาค่าคะแนนโบนัส
4. การยอมรับความสำเร็จของทีม ให้นำคะแนนโบนัสของแต่ละคนในทีมมารวมกันเป็นคะแนนของทีม และหาค่าเฉลี่ยทีมที่มีค่าสูงสุด จะได้รับการยอมรับให้เป็นทีมชนะเลิศ โดยอาจเรียกชื่อทีมที่ได้ชนะเลิศ กับรองลงมา โดยใช้ชื่อเก๋ ๆ ก็ได้ หรืออาจให้นักเรียนตั้งชื่อเอง และควรประกาศผลการแข่งขันในที่สาธารณะด้วย
ขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
1. ครูสอนความคิดรวบยอดใหม่ หรือบทเรียนใหม่ โดยอาจใช้ใบความรู้ให้นักเรียนได้ศึกษา หรือใช้กิจกรรมการศึกษาหาความรู้รูปแบบอื่นตามที่ครูเห็นว่าเหมาะสม
2. แบ่งนักเรียนเป็นกลุ่ม ๆ ละ 4 – 5 คน เพื่อปฏิบัติตามใบงาน
3. นักเรียนแต่ละกลุ่มเตรียมความพร้อมให้กับสมาชิกในกลุ่มทุกคน เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจในบทเรียนและพร้อมที่จะเข้าสู่สนามแข่งขัน
4. แต่ละกลุ่มประเมินความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาของสมาชิกในกลุ่ม โดยอาจตั้งคำถามขึ้นมาเองและให้สมาชิกกลุ่มทดลองตอบคำถาม
5. สมาชิกกลุ่มช่วยกันอธิบายเพิ่มเติมในจุดที่บางคนยังไม่เข้าใจ
6. ครูจัดให้มีการแข่งขัน โดยใช้คำถามตามเนื้อหาในบทเรียน
7. จัดการแข่งขันเป็นโต๊ะ โดยแต่ละโต๊ะจะมีตัวแทนของทีมต่าง ๆ ร่วมแข่งขัน อาจให้แต่ละทีมส่งชื่อผู้แข่งขันแต่ละโต๊ะมาก่อนและเป็นความลับ
8. ทุกโต๊ะแข่งขันจะเริ่มดำเนินการแข่งขันพร้อมๆกันโดยกำหนดเวลาให้
9. เมื่อการแข่งขันจบลง ให้แต่ละโต๊ะจัดลำดับผลการแข่งขัน และให้หาค่าคะแนนโบนัส
10. ผู้เข้าร่วมแข่งขันกลับไปเข้ากลุ่มเดิมของตนพร้อมด้วยนำคะแนนโบนัสไปด้วย
11. นักเรียนแต่ละกลุ่มนำคะแนนโบนัสของแต่ละคนมารวมกันเป็นคะแนนของทีม หาค่าเฉลี่ย ที่ที่ได้ค่าเฉลี่ย (อาจใช้คะแนนโบนัสรวมกันก็ได้) สูงสุด จะได้รับการยอมรับเป็นทีมชนะเลิศและรองลงไป
12. ให้ตั้งชื่อทีมชนะเลิศ และรองลงมา
13. ครูประกาศผลการแข่งขันในที่สาธารณะ เช่น ปิดประกาศที่บอร์ด ลงข่าวหนังสือพิมพ์หรือประกาศหน้าเสาธง
องค์ประกอบ 4 ประการ ของ TGT
1. การสอน เป็นการนำเสนอความคิดรวบยอดใหม่หรือบทเรียนใหม่ อาจเป็นการสอนตรงหรือจัดในรูปแบบของการอภิปราย หรือกลุ่มศึกษา
2. การจัดทีม เป็นขั้นตอนการจัดกลุ่ม หรือจัดทีมของนักเรียน โดยจัดให้คละกันทั้งเพศ และความสามารถและทีมจะต้องช่วยกันและกัน ในการเตรียมความพร้อมและความเข้มแข็งให้สมาชิกทุกคน
3. การแข่งขัน การแข่งขันมักจัดในช่วงท้ายสัปดาห์หรือท้ายบทเรียน ซึ่งจะใช้คำถามเกี่ยวกับเนื้อหาที่เรียนมาในข้อ 1 และผ่านการเตรียมความพร้อมของทีมมาแล้วการจัดโต๊ะแข่งขันจะมีหลายโต๊ะ แต่ละโต๊ะจะมีตัวแทนของกลุ่ม/ทีม แต่ละทีมมาร่วมแข่งขัน ทุกโต๊ะการแข่งขันควรเริ่มดำเนินการเพื่อนำไปเทียบหาค่าคะแนนโบนัส
4. การยอมรับความสำเร็จของทีม ให้นำคะแนนโบนัสของแต่ละคนในทีมมารวมกันเป็นคะแนนของทีม และหาค่าเฉลี่ยทีมที่มีค่าสูงสุด จะได้รับการยอมรับให้เป็นทีมชนะเลิศ โดยอาจเรียกชื่อทีมที่ได้ชนะเลิศ กับรองลงมา โดยใช้ชื่อเก๋ ๆ ก็ได้ หรืออาจให้นักเรียนตั้งชื่อเอง และควรประกาศผลการแข่งขันในที่สาธารณะด้วย
ขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
1. ครูสอนความคิดรวบยอดใหม่ หรือบทเรียนใหม่ โดยอาจใช้ใบความรู้ให้นักเรียนได้ศึกษา หรือใช้กิจกรรมการศึกษาหาความรู้รูปแบบอื่นตามที่ครูเห็นว่าเหมาะสม
2. แบ่งนักเรียนเป็นกลุ่ม ๆ ละ 4 – 5 คน เพื่อปฏิบัติตามใบงาน
3. นักเรียนแต่ละกลุ่มเตรียมความพร้อมให้กับสมาชิกในกลุ่มทุกคน เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจในบทเรียนและพร้อมที่จะเข้าสู่สนามแข่งขัน
4. แต่ละกลุ่มประเมินความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาของสมาชิกในกลุ่ม โดยอาจตั้งคำถามขึ้นมาเองและให้สมาชิกกลุ่มทดลองตอบคำถาม
5. สมาชิกกลุ่มช่วยกันอธิบายเพิ่มเติมในจุดที่บางคนยังไม่เข้าใจ
6. ครูจัดให้มีการแข่งขัน โดยใช้คำถามตามเนื้อหาในบทเรียน
7. จัดการแข่งขันเป็นโต๊ะ โดยแต่ละโต๊ะจะมีตัวแทนของทีมต่าง ๆ ร่วมแข่งขัน อาจให้แต่ละทีมส่งชื่อผู้แข่งขันแต่ละโต๊ะมาก่อนและเป็นความลับ
8. ทุกโต๊ะแข่งขันจะเริ่มดำเนินการแข่งขันพร้อมๆกันโดยกำหนดเวลาให้
9. เมื่อการแข่งขันจบลง ให้แต่ละโต๊ะจัดลำดับผลการแข่งขัน และให้หาค่าคะแนนโบนัส
10. ผู้เข้าร่วมแข่งขันกลับไปเข้ากลุ่มเดิมของตนพร้อมด้วยนำคะแนนโบนัสไปด้วย
11. นักเรียนแต่ละกลุ่มนำคะแนนโบนัสของแต่ละคนมารวมกันเป็นคะแนนของทีม หาค่าเฉลี่ย ที่ที่ได้ค่าเฉลี่ย (อาจใช้คะแนนโบนัสรวมกันก็ได้) สูงสุด จะได้รับการยอมรับเป็นทีมชนะเลิศและรองลงไป
12. ให้ตั้งชื่อทีมชนะเลิศ และรองลงมา
13. ครูประกาศผลการแข่งขันในที่สาธารณะ เช่น ปิดประกาศที่บอร์ด ลงข่าวหนังสือพิมพ์หรือประกาศหน้าเสาธง
กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบ ซี. ไอ. อาร์. ซี. (CIRC)
กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบ ซี. ไอ. อาร์. ซี. (CIRC)
รูปแบบ CIRC หรือ “Cooperative Integrated Reading and Composition” เป็นรูปแบบการเรียนการสอนแบบร่วมมือที่ใช้ในการสอนอ่านและเขียนโดยเฉพาะ รูปแบบนี้ประกอบด้วยกิจกรรมหลัก 3 กิจกรรมคือ กิจกรรมการอ่านแบบเรียน การสอนการอ่านเพื่อความเข้าใจ และการบูรณาการภาษากับการเรียน โดยมีขั้นตอนในการดำเนินการดังนี้(Slavin, 1995: 104-110)
7.1 ครูแบ่งกลุ่มนักเรียนตามระดับความสามารถในการอ่าน นักเรียนในแต่ละกลุ่มจับคู่ 2 คน หรือ 3 คน ทำกิจกรรมการอ่านแบบเรียนร่วมกัน
7.2 ครูจัดทีมใหม่โดยให้นักเรียนแต่ละทีมต่างระดับความสามารถอย่างน้อย 2 ระดับ ทีมทำกิจกรรมร่วมกัน เช่น เขียนรายงาน แต่งความ ทำแบบฝึกหัดและแบบทดสอบต่าง ๆ และมีการให้คะแนนของแต่ละทีม ทีมใดได้คะแนน 90% ขึ้นไป จะได้รับประกาศนียบัตรเป็น “ซุปเปอร์ทีม” หากได้คะแนนตั้งแต่ 80-89% ก็จะได้รับรางวัลรองลงมา
7.3 ครูพบกลุ่มการอ่านประมาณวันละ 20 นาที
แจ้งวัตถุประสงค์ในการอ่าน แนะนำคำศัพท์ใหม่ ๆ ทบทวนศัพท์เก่า
ต่อจากนั้นครูจะกำหนดและแนะนำเรื่องที่อ่านแล้วให้ผู้เรียนทำกิจกรรมต่าง ๆ
ตามที่ผู้เรียนจัดเตรียมไว้ให้
เช่นอ่านเรื่องในใจแล้วจับคู่อ่านออกเสียงให้เพื่อนฟังและช่วยกันแก้จุด
บกพร่อง หรือครูอาจจะให้นักเรียนช่วยกันตอบคำถาม วิเคราะห์ตัวละคร
วิเคราะห์ปัญหาหรือทำนายว่าเรื่องจะเป็นอย่างไรต่อไปเป็นต้น
7.4 หลังจากกิจกรรมการอ่าน ครูนำอภิปรายเรื่องที่อ่าน โดยครูจะเน้นการฝึกทักษะต่าง ๆ ในการอ่าน เช่น การจับประเด็นปัญหา การทำนาย เป็นต้น
7.5 นักเรียนรับการทดสอบการอ่านเพื่อความเข้าใจ นักเรียนจะได้รับคะแนนเป็นทั้งรายบุคคลและทีม
7.6 นักเรียนจะได้รับการสอนและฝึกทักษะการอ่านสัปดาห์ละ 1 วัน เช่น ทักษะการจับใจความสำคัญ ทักษะการอ้างอิง ทักษะการใช้เหตุผล เป็นต้น
7.7 นัก
เรียนจะได้รับชุดการเรียนการสอนเขียน
ซึ่งผู้เรียนสามารถเลือกหัวข้อการเขียนได้ตามความสนใจ
นักเรียนจะช่วยกันวางแผนเขียนเรื่องและช่วยกันตรวจสอบความถูกต้องและในที่
สุดตีพิมพ์ผลงานออกมา
7.8 นัก
เรียนจะได้รับการบ้านให้เลือกอ่านหนังสือที่สนใจ
และเขียนรายงานเรื่องที่อ่านเป็นรายบุคคล
โดยให้ผู้ปกครองช่วยตรวจสอบพฤติกรรมการอ่านของนักเรียนที่บ้าน
โดยมีแบบฟอร์มให้
กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบ แอล.ที. ( L.T )
“ L.T. ” คือ “Learning Together” ซึ่งมีกระบวนการที่ง่ายไม่ซับซ้อน ดังนี้
1 จัดผู้เรียนเข้ากลุ่มคละความสามารถ ( เก่ง - กลาง - อ่อน ) กลุ่มละ 4 คน
2 กลุ่มย่อยกลุ่มละ 4 คน ศึกษาเนื้อหาร่วมกันโดยกำหนดให้แต่ละคนมีบทบาทหน้าที่ช่วยกลุ่มในการเรียนรู้ ตัวอย่างเช่น
สมาชิกคนที่ 1 : อ่านคำสั่ง
สมาชิกคนที่ 2 : หาคำตอบ
สมาชิกคนที่ 3 : หาคำตอบ
สมาชิกคนที่ 4 : ตรวจคำตอบ
3 กลุ่มสรุปคำตอบร่วมกัน และส่งคำตอบนั้นเป็นผลงานกลุ่ม
4 ผลงานกลุ่มได้คะแนนเท่าไร สมาชิกทุกคนในกลุ่มนั้นจะได้คะแนนนั้นเท่ากันทุกคน
1 จัดผู้เรียนเข้ากลุ่มคละความสามารถ ( เก่ง - กลาง - อ่อน ) กลุ่มละ 4 คน
2 กลุ่มย่อยกลุ่มละ 4 คน ศึกษาเนื้อหาร่วมกันโดยกำหนดให้แต่ละคนมีบทบาทหน้าที่ช่วยกลุ่มในการเรียนรู้ ตัวอย่างเช่น
สมาชิกคนที่ 1 : อ่านคำสั่ง
สมาชิกคนที่ 2 : หาคำตอบ
สมาชิกคนที่ 3 : หาคำตอบ
สมาชิกคนที่ 4 : ตรวจคำตอบ
3 กลุ่มสรุปคำตอบร่วมกัน และส่งคำตอบนั้นเป็นผลงานกลุ่ม
4 ผลงานกลุ่มได้คะแนนเท่าไร สมาชิกทุกคนในกลุ่มนั้นจะได้คะแนนนั้นเท่ากันทุกคน
กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบ จี.ไอ. ( G.I. )
“ G.I. ” คือ “ Group Investigation ”
รูปแบบนี้เป็นรูปแบบที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนช่วยกันไปสืบค้นข้อมูลมาใช้ในการ
เรียนรู้ร่วมกัน โดยดำเนินการเป็นขั้นตอน ดังนี้
1 จัดผู้เรียนเข้ากลุ่มคละความสามารถ ( เก่ง-กลาง-อ่อน ) กลุ่มละ 4 คน
2 กลุ่มย่อยศึกษาเนื้อหาสาระร่วมกัน โดย
ก. แบ่งเนื้อหาออกเป็นหัวข้อย่อย ๆ แล้วแบ่งกันไปศึกษาหาข้อมูลหรือคำตอบ
ข. ในการเลือกเนื้อหา ควรให้ผู้เรียนอ่อนเป็นผู้เลือกก่อน
3 สมาชิกแต่ละคนไปศึกษาหาข้อมูล /คำตอบมาให้กลุ่ม กลุ่มอภิปรายร่วมกัน และสรุปผลการศึกษา
4 กลุ่มเสนอผลงานของกลุ่มต่อชั้นเรียน
1 จัดผู้เรียนเข้ากลุ่มคละความสามารถ ( เก่ง-กลาง-อ่อน ) กลุ่มละ 4 คน
2 กลุ่มย่อยศึกษาเนื้อหาสาระร่วมกัน โดย
ก. แบ่งเนื้อหาออกเป็นหัวข้อย่อย ๆ แล้วแบ่งกันไปศึกษาหาข้อมูลหรือคำตอบ
ข. ในการเลือกเนื้อหา ควรให้ผู้เรียนอ่อนเป็นผู้เลือกก่อน
3 สมาชิกแต่ละคนไปศึกษาหาข้อมูล /คำตอบมาให้กลุ่ม กลุ่มอภิปรายร่วมกัน และสรุปผลการศึกษา
4 กลุ่มเสนอผลงานของกลุ่มต่อชั้นเรียน
กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบ เอส.ที.เอ.ดี. ( STAD )
“ STAD ” คือ “Student Teams Achievement Division” กระบวนการดำเนินการมีดังนี้
1 จัดผู้เรียนเข้ากลุ่มคละความสามารถ ( เก่ง - กลาง - อ่อน ) กลุ่มละ 4 คนและเรียกกลุ่มนี้ว่ากลุ่มบ้านของเรา (Home Group)
2 สมาชิกในกลุ่มบ้านของเรา ได้รับเนื้อหาสาระและศึกษาเนื้อหาสาระนั้นร่วมกัน
เนื้อหาสาระนั้นอาจะมีหลายตอนซึ่งผู้เรียนอาจต้องทำแบบทดสอบในแต่ละตอนและเก็บคะแนนของตนไว้
3 ผู้เรียนทุกคนทำแบบทดสอบครั้งสุดท้าย ซึ่งเป็นการทดสอบรวบยอดและนำคะแนนของตน
ไปหาคะแนนพัฒนาการ (Improvement Score) ซึ่งหาได้ดังนี้
คะแนนพื้นฐาน : ได้จากค่าเฉลี่ยของคะแนนทดสอบย่อยหลาย ๆ ครั้งที่ผู้เรียน แต่ละคนทำได้
คะแนนพัฒนาการ : ถ้าคะแนนที่ได้คือ
- 11 ขึ้นไป คะแนนพัฒนาการ = 0
- 1 ถึง -10 คะแนนพัฒนาการ = 10
+1 ถึง +10 คะแนนพัฒนาการ = 20
+11 ขึ้นไป คะแนนพัฒนาการ = 30
4.4 สมาชิกในกลุ่มบ้านของเรานำคะแนนพัฒนาการของแต่ละคนในกลุ่มมารวมกัน เป็นคะแนนของกลุ่ม
กลุ่มใดได้คะแนนพัฒนาการของกลุ่มสูงสุด กลุ่มนั้นได้รางวัล
ทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม
ทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม
จะเป็นตัวกำหนดความพร้อมของนักเรียนเข้าสู่โลกการทำงานที่มีความซับซ้อนมากขึ้น
ในปัจจุบัน ได้แก่
- ความริเริ่มสร้างสรรค์และนวัตกรรม - การคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา - การสื่อสารและการร่วมมือ |
ทักษะด้านสารสนเทศ
ทักษะด้านสารสนเทศ
สื่อ
และเทคโนโลยี
เนื่องด้วยในปัจจุบันมีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารผ่านทางสื่อและเทคโนโลยีมาก
มาย
ผู้เรียนจึงต้องมีความสามารถในการแสดงทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและ
ปฏิบัติงานได้หลากหลาย โดยอาศัยความรู้ในหลายด้าน ดังนี้
- ความรู้ด้านสารสนเทศ
- ความรู้เกี่ยวกับสื่อ
- ความรู้ด้านเทคโนโลยี
- ความรู้ด้านสารสนเทศ
- ความรู้เกี่ยวกับสื่อ
- ความรู้ด้านเทคโนโลยี
ทักษะด้านชีวิตและอาชีพ
ทักษะด้านชีวิตและอาชีพ
ในการดำรงชีวิตและทำงานในยุคปัจจุบันให้ประสบความสำเร็จ นักเรียนจะต้องพัฒนา
ทักษะชีวิตที่สำคัญดังต่อไปนี้ - ความยืดหยุ่นและการปรับตัว - การริเริ่มสร้างสรรค์และเป็นตัวของตัวเอง - ทักษะสังคมและสังคมข้ามวัฒนธรรม - การเป็นผู้สร้างหรือผู้ผลิต (Productivity) และความรับผิดชอบเชื่อถือได้ (Accountability) - ภาวะผู้นำและความรับผิดชอบ (Responsibility) |
บทบาทครูในศตวรรษที่ 21
บทบาทครูในศตวรรษที่ 21
ในศตวรรษที่ 21
ต่างจากเด็กยุคเก่าอย่างมาก คือ
ความรู้เยอะและความรู้ที่วิ่งเข้ามาหาตัวเด็กมีเยอะมาก
เพราะฉะนั้นการเรียนในห้องเรียนเป็นเรื่องยากมากที่เด็กจะสนใจเพราะมีเรื่อง
อื่นที่น่าสนใจมากกว่า
ในศตวรรษนี้เป็นยุคของ IT
จำนวนมวลความรู้มันเพิ่มขึ้นมหาศาลอย่างรวดเร็วทุกวันเราไล่ตามไม่ทัน
ฉะนั้นเราก็ไม่ได้ต้องการนัดเรียนที่เรียนเก่ง ท่องเก่งเพียงอย่างเดียว
แต่ก็ยังอยากได้เด็ก อยากได้นักเรียน อยากได้บัณฑิตที่ใฝ่รู้
อยากเรียนรู้ของใหม่ๆอยู่เรื่อยๆและต้องรู้วิธีที่จะเรียนรู้ด้วย
คือมีทักษะในการเรียนรู้ ที่เรียกว่า Learning skill
และต้องมีทักษะการใช้ชีวิตที่ดีด้วย เรียกว่า Life skill
ควบคู่ไปพร้อมกันด้วย
สำหรับ
โลกในศตวรรษที่ 21
นั้นนอกจากความรู้ในสาระวิชาหลักที่เด็กควรจะได้รับการสอน
เด็กควรจะได้รู้แนวคิดสำคัญในศตวรรษที่ 21
ประกอบด้วย ความรู้เกี่ยวกับโลก ความรู้ด้านการเงิน เศรษฐศาสตร์
ธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ ความรู้ด้านการเป็นพลเมืองที่ดี ความรู้ด้าน
สุขภาพ ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม
นอกจากนี้เด็กควรได้รับการปลูกฝังทักษะสำคัญ 3 เรื่องอีกด้วย คือ
- ทักษะชีวิตและการทำงาน ซึ่งประกอบไปด้วย
- ความยืดหยุ่นและการปรับตัว
- การริเริ่มสร้างสรรค์และเป็นตัวของตัวเอง
- การเป็นผู้สร้างหรือผลิตและความรับผิดชอบ เชื่อถือได้
- ทักษะด้านสังคมและทักษะข้ามวัฒนธรรม
- ภาวะผู้นำและความรับผิดชอบ
- ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม
- ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และนวัตกรรม
- การคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา
- การสื่อสารและความร่วมมือ
- ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อและเทคโนโลยี
- ใช้เทคโนโลยีใหม่อย่างมีประสิทธิภาพ
- ใช้และประเมินสารสนเทศได้อย่างเท่ากัน
- วิเคราะห์และเลือกใช้สื่อที่เหมาะสม
- ทักษะด้านภาษา
และ
เพื่อให้กระบวนการเรียนรู้ต่างๆประสบความสำเร็จ
ต้องจำเป็นที่มีโครงสร้างพื้นฐาน 4 ด้าน
เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
คือ มาตรฐานในการเรียนรู้ หลักสูตรและการเรียนการสอน การพัฒนาครูในศตวรรษ
ที่ 21 และสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเรียนรู้
การ
เรียนการสอนแบบเก่าคุณครูก็สอนและมุ่งที่จะให้ความรู้แก่เด็กเยอะและเด็กก็
มีหน้าที่รับความรู้เยอะๆและก็ท่อง ในการเรียนการสอนแบบนี้อาจจะเหมาะใน 100
หรือ 200 ปีที่ผ่านมา จุดสำคัญ คือ ต้องเปลี่ยนวิธีการของการศึกษา
เปลี่ยนเป้าหมายจากความรู้ไปสู่ทักษะ เปลี่ยนจากเอาครูเป็นหลักในการสอน
เป็นนักเรียนเป็นหลักในการเรียนรู้ เรียนโดยการปฏิบัติที่เรียกว่า Project
Based Learning คือนักเรียนต้องเรียนโดยการทำ Project
การ
เรียนแบบ Project Based Learning หรือ PBL
เป็นการเรียนที่ฝึกให้นักเรียนได้เรียนรู้ผ่านการทำงานจริงหรือ Project
ต่างๆ โดยที่ครูเป็นเพียงผู้ที่คอยช่วยเหลืออยู่ข้างๆ
การเรียนแบบนี้จะช่วยให้เด็กได้ฝึกทักษะต่างๆ ตั้งแต่การตั้งคำถาม
การค้นคว้าหาข้อมูลด้วยตัวเอง
การตรวจสอบและประเมินข้อมูลเพื่อนำสิ่งที่เหมาะสม ถูกต้องมาใช้กับ Project
ได้ฝึกปฏิบัติจริง เพิ่มทักษะในการศึกษา การนำเสนองานอย่างสร้างสรรค์
และที่สำคัญที่สุดยังได้ฝึกการทำงานเป็นทีม
มีการแลกเปลี่ยนความรู้ร่วมกันเพื่อต่อยอด
ไปสร้างเป็นองค์ความรู้ของตัวเองต่อไป
Project
หนึ่งเราสามารถออกแบบและใส่เงื่อนไขให้นักเรียนได้รู้ทักษะสารภัตด้าน
และครูต้องฝึกการเป็นครูฝึก (Coach)
ให้นักเรียนได้ฝึกทำงานเพื่อให้บรรลุยังเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้
การศึกษาจะต้องเปลี่ยนไปจากเดิม จากที่เราคุ้นเคย
จากหน้ามือเป็นหลังมือเยอะมาก ถ้าเรียนแบบปัจจุบันจะส่งผลต่อเราคือ
เด็กจะเสียคน ในสัดส่วนที่มีการเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เพราะไม่มีแรงบันดาลใจ
ไม่มีความสนุก น่าเบื่อ และที่สำคัญคือทั้งชาติโง่ เพราะเรียนแค่ได้ความรู้
ไม่ได้ทักษะ รวมถึงความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
(Information and Commumication Technology – ICT)
เป็นปัจจัยที่สำคัญที่ทำให้การศึกษาในอุดมคติเป็นจริงได้
เพราะสามารถแสดงอักษร ภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว
รวมถึงการสร้างสถานการณ์เสมือนจริง (Virtual Situation)
ได้เหมือนๆกับที่หนังสือ หนังสื่อภาพ เทปเสียง วีดีทัศน์หรือสื่ออื่นๆ
ที่มีทั้งหมด รวมทั้งเพิ่มการปฏิสัมพันธ์ (Interaction)
กับผู้ใช้ได้และสร้างเครือข่ายให้สามารถติดต่อสื่อสารได้อย่างไร้ขอบเขต
ในแง่ของสถานที่ที่แตกต่างคนละ แห่งกัน ทำให้ในศตวรรษที่ 21
เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทต่อนักเรียนและครูเป็นอย่างมาก
บทบาทครูในศตวรรษที่ 21
ครูในยุคศตวรรษที่ 21 ต้องมีลักษณะที่เรียกว่า E-Teacher
- Experience มีประสบการณ์ในการจัดการเรียนรู้แบบใหม่ เช่น เรียนผ่านสื่อเทคโนโลยี Internet, E-mail เป็นต้น
- Extended มีทักษะการแสวงหาความรู้ใหม่ๆเพื่อขยายองค์ความรู้ของตนเองตลอดเวลา ผ่านทางสื่อเทคโนโลยี
- Expanded มีความสามารถในการถ่ายทอดหรือขยายความรู้ของตนเองสู่นักเรียนผ่านสื่อเทคโนโลยีได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- Exploration มีความสามารถในการเสาะหาและคัดเลือกเนื้อหาความรู้หรือเนื้อหาที่ทันสมัย เหมาะสมและเป็นประโยชน์ต่อผู้เรียน ผ่านทางสื่อเทคโนโลยี
- Evaluation เป็นนักประเมินที่ดี มีความบริสุทธิ์และยุติธรรม และสามารถใช้เทคโนโลยีในการประเมินผล
- End-User เป็นผู้ที่ใช้สื่อเทคโนโลยี (user) อย่างคุ้มค่า และใช้ได้อย่างหลากหลาย
- Enabler สามารถใช้เทคโนโลยีสร้างบทเรียน เนื้อหา และสื่อการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- Engagement ต้องร่วมมือและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันผ่านสื่อเทคโนโลยี จนพัฒนาเป็นเครือข่ายความร่วมมือ เช่น เกิดชุมชนครูบน web
- Efficient and Effective สามารถใช้สื่อเทคโนโลยีอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ทั้งในฐานะที่เป็นผู้ผลิตความรู้ ผู้กระจายความรู้ และผู้ใช้ความรู้
ห้องเรียนสำหรับการศึกษาศตวรรษที่ 21
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
-
การสอนแบบเน้นกระบวนการคิดด้วยเทคนิค KWL Plus ในปีค . ศ . 1986 Donna M. Ogle แห่ง National College of Education at Evanston,Illi...
-
ผังความคิด ( A Mind Map ) เป็น การแสดงความสัมพันธ์ของสาระหรือความคิดต่างๆให้เห็นในภาพรวม โดยใช้เส้น คํา ระยะห่างจากจุดศ...
-
การจัดการเรียนรู้แบบค้นพบ ( Discovery Method ) ความหมาย การจัดการเรียนรู้แบบค้นพบ เป็นกระบวนก...