คือ กระบวนการที่ผู้สอนใช้ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด โดยให้ผู้เรียนศึกษาจากบทเรียนสำเร็จรูปด้วยตนเอง (เนื้อหาถูกแบ่งออกเป็นหน่วยย่อย เพื่อให้ง่ายแก่การเรียนรู้ และผู้เรียนสามารถตอบสนองต่อสิ่งที่เรียน ตรวจสอบการเรียนรู้ของตนเองได้ (Immediate Feedback) ว่าผิดหรือถูก ผู้เรียนสามารถใช้เวลาในการเรียนรู้มากน้อยตามความสามารถ และสามารถตรวจสอบผลการเรียนรู้ของได้ด้วยตนเอง
2. วัตถุประสงค์
มุ่งเน้นให้ผู้เรียนรายบุคคลได้เรียนรู้ด้วยตนเองตามความสามารถ ความต้องการและความสนใจของตนเอง
3. องค์ประกอบที่สำคัญ
3.1 บทเรียนแบบโปรแกรม
3.2 ผลการเรียนรู้ของผู้เรียนที่เกิดจากบทเรียนแบบโปรแกรม
4. ขั้นตอนการสอน
4.1 ผู้สอนศึกษาปัญหา ความต้องการและความสนใจของผู้เรียน
4.2 ผู้สอนเลือก แสวงหา หรือสร้างบทเรียนแบบโปรแกรมในเรื่องที่ตรงกับปัญหาความต้องการหรือความสนใจของผู้เรียน
4.3 ผู้สอนแนะนำการใช้บทเรียนแบบโปรแกรมให้ผู้เรียนเข้าใจ
4.4 ผู้สอนให้ผู้เรียนศึกษาบทเรียนด้วยตนเอง
4.5 ผู้เรียนทดสอบการเรียนรู้ด้วยตนเอง หรือมารับการทดสอบจากผู้สอน
5. เทคนิคและข้อเสนอแนะต่างๆ ในการใช้วิธีสอนโดยใช้บทเรียนแบบโปรแกรม
5.1 การเตรียมการ
- ผู้สอนศึกษาความต้องการและความสนใจของผู้เรียนรายบุคคล
- บทเรียนแบบโปรแกรมมี 2 ลักษณะ คือ สอนเนื้อหาสาระใดสาระหนึ่ง โดยผู้เรียนๆ ด้วยตนเอง และการสอนซ่อมเสริมการเรียนตามปกติ
- บทเรียนแบบโปรแกรมจะนำเสนอเนื้อหาทีละน้อย ในรูปของเฟรม (Frame) หลังจากนำเสนอเนื้อหาแล้ว จะมีคำถามทดสอบความรู้ของผู้เรียน
- บทเรียนแบบโปรแกรมมี 3 ลักษณะ คือ
บทเรียนแบบเส้นตรง (Linear Program) คือ บทเรียนที่นำเสนอเนื้อหาไปตามลำดับ ผู้เรียนจะต้องศึกษาเนื้อหาตามลำดับที่ให้ไว้
บทเรียนแบบสาขา (Branching Program) คือ บทเรียนที่การตอบสนองของผู้เรียนจะมีผลต่อการศึกษาบทเรียนของผู้เรียนแต่ละคน เช่น การเลือกตอบคำถาม ก ข ค ง... ที่แตกต่างกัน ซึ่งบางข้อถูก บางข้อผิด จะส่งผลให้ผู้เรียนต้องศึกษาเนื้อหาเพิ่มเติมแตกต่างกันด้วย ลำดับการเรียนของผู้เรียนแต่ละคนจึงไม่เหมือนกัน
บทเรียนแบบไม่แยกกรอบ เหมือนบทเรียนแบบเส้นตรง แต่ไม่นำเสนอเนื้อหาในรูปของกรอบ แต่จะนำเสนอเนื้อหาเป็นความเรียงต่อกันไปเรื่อยๆ
- การสร้างบทเรียนฯ ผู้สอนจะต้องวิเคราะห์เนื้อหาที่จะสอนและนำเนื้อหาสาระมาแตกย่อยเรียงลำดับให้เหมาะสม เพื่อง่ายต่อการเรียนรู้ จากนั้นจึงนำเสนอเนื้อหาทีละน้อย มีข้อคำถามท้าทายความคิดและมีเฉลย จากนั้น นำบทเรียนไปทดลองใช้ และปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
5.2 การดำเนินการ
ผู้เรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน จากนั้น ชี้แจงวิธีการเรียนจากบทเรียน และจึงให้ผู้เรียนศึกษาด้วยตนเอง
5.3 การประเมินผล
ผู้เรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน และผู้สอนให้คะแนน
6. ข้อดี ข้อจำกัด
6.1 ข้อดี
- ส่งเสริมให้ศึกษาด้วยตนเอง
- ผู้เรียนเรียนรู้ได้ตามความสามารถของตนเอง ตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล
- ลดภาระครู แก้ไขปัญหาการขาดแคลนครู
6.2 ข้อจำกัด
- ต้องมีบทเรียนที่มีคุณภาพเพียงพอ
- บทเรียนที่มีคุณภาพต้องใช้เวลาในการผลิต ผู้สร้างต้องมีความรู้ ความเข้าใจในเนื้อหา และการสร้างบทเรียน
- บทเรียนแบบโปรแกรมที่มีคุณภาพไม่ดีพอจะไม่น่าสนใจและไม่สามารถถึงดูดความสนใจของผู้เรียน ทำให้ผ้เรียนเบื่อหน่ายได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น